การปรับหลักสูตรและกิจกรรมที่ใช้แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ว่าด้วยทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน (Re-design Curriculum: Problem-based Learning and Local Water Resources)

การปรับหลักสูตรและกิจกรรมที่ใช้แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ว่าด้วยทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน (Re-design Curriculum: Problem-based Learning and Local Water Resources)
วิทยากร / สังกัด :
  • ดร.ศิรประภา ศรีสุพรรณ - นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชำนาญการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • คุณอรทัย สุราฤทธิ์ - นักวิชาการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

การออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยา (ทรัพยากรน้ำ) โดยเน้นรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning : PBL) จากการรวบรวมตัวอย่างกิจกรรมตามบริบทจีนและไทยด้านทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับวิกฤตการณ์น้ำด้านมลพิษและการขาดแคลนน้ำจืดในปัจจุบัน โดยนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมในหลักสูตร และตัวอย่างรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักสูตรของครูในโรงเรียนตามบริบทที่แตกต่างกันจากทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและผู้สนใจได้นำองค์ความรู้ไปปรับใช้กับบริบทการจัดการเรียนรู้ของตนเอง อันจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และสร้างความตระหนักด้านทรัพยากรน้ำแก่เยาวชน ได้เห็นความสำคัญและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาตามบริบทที่เริ่มจากตนเองขยายผลสู่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคมได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ 

- เพื่อนำเสนอตัวอย่างการออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมด้านนิเวศวิทยาที่เน้นทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นตามบริบทโรงเรียน 

- เพื่อเป็นแนวทางให้ครูสามารถนำหลักสูตรและกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักด้านนิเวศวิทยาที่เน้นทรัพยากรน้ำในท้องถิ่น

RELATED