การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเครื่องมือเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับเครื่องมือเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
วิทยากร / สังกัด :
  • อ. ดร.กัลยา เทียนวงศ์ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษาโดยบูรณาการการเรียนรู้ชุมชน 3 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ กลุ่มชาวไทยยวน ไทยกะเหรี่ยง และชาวไทยมอญในจังหวัดราชบุรีโดยแต่ละกลุ่มที่ศึกษามีลักษณะทางกายภาพโดยเฉพาะภูมิประเทศทั้งที่สูง ที่ราบสูง และที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีวิถีวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพซึ่งเป็นมิติความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ของระบบกายภาพกับระบบมนุษย์ที่ผู้เรียนได้เข้าในการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ที่จะนำไปสู่ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ต่อไป ทั้งนี้ในแต่ละชุมชนมีองค์ความรู้หลากหลายจึงนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เข้ามาจัดกิจกรรม ทั้งนี้ผู้สอนได้นำผู้เรียนไปศึกษาในพื้นที่จริงเพื่อได้เห็น ได้เรียนรู้ และเข้าใจภูมิประเทศผ่านการนำมุมมอง 5 Themes การใช้ทักษะทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ในการศึกษาพื้นที่และสำรวจสภาพแวดล้อม ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางกายภาพและวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน ในแต่ละสัปดาห์ที่ได้ลงมาเก็บข้อมูลจะกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การสะท้อนคิดระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ข้อสะท้อนคิดที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลและสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองที่ได้เรียนรู้และต่อชุมชน

RELATED