ว่าด้วยการสอนนวัตกรรม : สอนเพื่อให้ได้นวัตกรรม หรือสอนให้เป็นนวัตกร ?

ว่าด้วยการสอนนวัตกรรม : สอนเพื่อให้ได้นวัตกรรม หรือสอนให้เป็นนวัตกร ?
วิทยากร / สังกัด :
  • ดร. พิรุณ ศิริศักดิ์ - ผู้บริหารโรงเรียนราชินีบน
  • ผอ. ธนวัฒน์ หมวกเหล็ก - ผู้อำนวยการโรงเรียนจำรัสวิทยา จังหวัดสระบุรี
  • ศน. รังสิมา จันทโชติ - หัวหน้าศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษาเมืองพัทยา
  • ผศ.ดร. ฐาปนา จ้อยเจริญ - รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ

เมื่อนวัตกรรมถูกกำหนดเป็นกลไกขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ เยาวชนไทยจึงต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตไปเป็นพลเมืองไทยที่มีสมรรถนะของนวัตกร เห็นได้ว่ามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของสาระที่ 4 เทคโนโลยีที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ส่งเสริมให้นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เรียนรู้มโนทัศน์ด้านการออกแบบและเทคโนโลยี รวมถึงการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งถือเป็น KPA ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตจริงของนักเรียน โรงเรียนต่าง ๆ จึงเริ่มวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนนวัตกรรมด้วยรูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนที่แตกต่างหลากหลาย อีกทั้งเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ครูและเด็กต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำถามสำคัญมากมายเกี่ยวกับการสอนนวัตกรรมแบบผสมผสานตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาในยุคโควิด-19 ซึ่งโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีการปฏิบัติที่ดีควรได้มาถอดบทเรียนร่วมกัน เพื่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดี รวมถึงตอบคำถามสำคัญให้ได้ว่า “ครูสอนเพื่อให้ได้นวัตกรรม หรือสอนนักเรียนให้เป็นนวัตกร”

RELATED